EP.2_ติดแก๊สLPG - How to วิธีการเลือกอุปกรณ์แก๊สรถยนต์ [Update]

ติดแก๊ส LPG วิธีการเลือกอุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์ที่ได้มาตรฐาน หงษ์ทองแก๊ส

Loading

ติดแก๊ส LPG วิธีการเลือกอุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์ที่ได้มาตรฐาน

การเลือกอุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ใช้รถที่เลือกติดตั้งแก๊ส LPG ซึ่งลูกค้าควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจ และเลือกชุดแก๊สที่เหมาะสมกับระบบเครื่องยนต์ในรถแต่ละรุ่น โดยสิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ “คุณภาพมาตรฐาน” ของอุปกรณ์หรือชุดแก๊สว่าผ่านการทดสอบรับรอง มีเครื่องหมายตรงตามประกาศที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าติดตั้งแล้วปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาหรือทำให้เครื่องยนต์เสียหาย หากลูกค้ายังไม่มั่นใจว่าควรเลือกอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สยี่ห้อไหนดี ถึงจะเหมาะสมกับรุ่นรถยนต์ที่ตนเองขับขี่หรือใช้งานในชีวิตประจำวัน เรายินดีให้คำปรึกษา ส่วนวิธีการสังเกตง่าย ๆ เบื้องต้น คือให้ดูที่ “เครื่องหมายฐาน” เป็นหลัก เช่น ถังแก๊ส ปกติจะเป็นเครื่องหมาย ECE 67 R01 (มาตรฐานยุโรป) หรือเครื่องหมาย มอก.370/2525 ส่วนอุปกรณ์ที่อื่น ๆ เช่น วาลว หม้อต้ม หัวฉีด ชุดควบคุมต่าง ๆ ฯลฯ ให้สังเกตเครื่องหมาย ECE R67, ECE R110 ซึ่งเป็นมาตรฐานของต่างประเทศ เป็นต้น

Loading

ชุดอุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์ มีอะไรบ้าง? ราคาต่างกันเพราะอะไร….

ในส่วนของชุดอุปกรณ์สำหรับติดตั้งแก๊สรถยนต์ สำหรับรถติแก๊ส LPG มีให้เลือกหลายเกรด หลายยี่ห้อ และหลายระดับราคา ขึ้นอยู่กับ…

  1. คุณภาพมาตรฐานของอุปกรณ์แก๊ส อันนำมาซึ่ง “ความปลอดภัย” ของผู้ใช้รถติดแก๊ส
  2. วัสดุที่ใช้ในการผลิต
  3. ระบบเทคโนโลยี (ซอฟต์แวร์) ที่เหมาะสมในการใช้งานกับรถยนต์แต่ละรุ่น
  4. เทคนิคการออกแบบการติดตั้ง การปรับจูน โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ วิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ของหงษ์ทองแก๊ส
  5. ความคุ้มค่าในการใช้งานของผู้ขับขี่ สำหรับรถติดแก๊สแต่ละรุ่น/ยี่ห้อ

ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งแก๊สรถยนต์ จึงควรเลือกอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบและได้รับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด โดยอุปกรณ์แก๊สหลัก ๆ ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ ดังนี้

  1. ถังแก๊ส : หัวใจหลักของรถติดแก๊ส มีขนาดความจุให้เลือกหลายไซส์ ขึ้นอยู่กับรุ่นรถยนต์และความต้องการของผู้ใช้งาน ส่วนประเภทของถังแก๊สหลัก ๆ มี 2 ชนิดคือ ถังแคปซูล และถังโดนัท มาตรฐานหลัก ๆ คือ ECE R67
  2. มัลติวาล์ว : ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงและป้องกันรั่วซึมของแก๊ส ตัวอย่างเช่น Solenoid Valve หรือวาล์วไฟฟ้า เป็นรับบวาล์วนิรภัย 3 ชั้น รับคำสั่งจากกล่อง ECU รถยนต์ ด้านในประกอบด้วย วาล์วระบายแรงดันเกิน (Pressure Relief Valve), วาล์วป้องกันการไหลเกิน (Excess Flow Valve) และฟิวส์ตะกั่ว (Thermal Fuse) สำหรับมัลติวาล์วคุณภาพสูง เกรดดี มาตรฐานหลัก ๆ คือ E8 ECE 67R – 01 308 เป็นต้น
  3. หม้อต้มแก๊ส : ทำหน้าที่ปรับแรงดันและทำไอแก๊ส ก่อนส่งต่อเชื้อเพลิงไปยังเครื่องยนต์ ในการเลือกขนาดหม้อต้มแก๊ส จะคำนวณจากกำลังแรงม้า/ขนาดเครื่องยนต์ว่ากี่ CC. ซึ่งโดยทั่วไปหม้อต้มแก๊ส LPG แบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบดูด และระบบหัวฉีด (แรงดันประมาณ 2 บาร์) มาตรฐานหลัก ๆ คือ ECR 67
  4. กรองแก๊ส : เรียกว่าเป็นประตูด่านแรกที่ขาดไม่ได้สำหรับรถติดแก๊ส ทำหน้าที่ดักจับเศษฝุ่น คราบน้ำมันทาร์ น้ำมันคอมเพลสเซอร์ ฯลฯ ไม่ให้ผ่านเข้าไปในหัวฉีด จึงมีส่วนช่วยป้องกันเครื่องยนต์สึกหลอ ควรเช็คระยะและเปลี่ยนกรองแก๊สทุก 20,000 กม. เพื่อบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งานรถติดแก๊ส LPG / ส่วนมาตรฐานของกรองแก๊สจะขึ้นอยู่กับความละเอียดในการกรอง วัสดุที่ผลิต แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ โดยทั่วไปกรองแก๊สจะราคาค่อนข้างสูง ระยะการใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กม.
  5. ท่อแก๊ส (แป๊ปทองแดง) : ท่อแก๊สที่มีคุณภาพมาตรฐานสูง ส่วนใหญ่จะผลิตในต่างประเทศ ซึ่งมีการหุ้มด้วยยางด้านนอก เพื่อป้องกันน้ำ ป้องกันการรั่วซึม แข็งแรงทนทาน ทนความร้อนสูง อายุการใช้งานนาน แตกต่างจากท่อแป๊ปทองแดงปกติที่ใช้ผ้าหรือเทปพันเฉย ๆ ซึ่งอาจเกิดการผุกร่อน/เป็นสนิม และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้
  6. ท่อยางแก๊ส : ทำหน้าที่เป็นทางเดินของแก๊สระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นในห้องเครื่อง มาตรฐานความปลอดภัยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผลิต ท่องยางแก๊สที่ได้คุณภาพจะมีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทาน ทนความร้อนสูง ผู้ใช้รถติดแก๊สควรเช็คสภาพหรือเปลี่ยนท่องยางแก๊สตามกำหนด ทุก 50,000 กม.ต่อปี หรือทุก ๆ 100,000 ต่อ 3 ปี เพราะหากท่อยางแก๊สเสื่อมสภาพ แห้งแข็ง มีรอบแตกร้าว/แตกลายงา อาจเป็นสาเหตุทำให้แก๊สรั่ว เป็นอันตราย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ซึ่งควรรีบเปลี่ยนทันที
  7. หัวฉีดแก๊ส / รางหัวฉีด : ทำหน้าที่จ่ายแก๊สไปยังงระบบจุดระเบิดในห้องเครื่อง ทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง จำเป็นต้องเลือกหัวฉีดแก๊สที่เป็นมาตรฐานสูง เพราะคุ้มค่าการใช้งาน และทำให้ระบบจ่ายแก๊สได้อย่างแม่นยำ เพราะหากลูกค้าใช้หัวฉีดที่ไม่ได้มาตรฐาน ระบบจ่ายแก๊สแต่ละสูบมักไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์ในภายหลัง
  8. ชุด ECU แก๊ส: ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการฉีดแก๊สเข้าสู่ระบบ ควรเลือกยี่ห้อที่เชื่อถือได้ มีการรับประกันหลังการขาย ในชุดประกอบด้วย กล่อง ECU, สายไฟชุดแก๊ส, สวิตซ์แก๊ส, นาฬิกาแสงผลที่ถัง และ Map Sensor

Loading

Loading

อุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์แนะนำ อัพเดตเทคโนโลยีล่าสุด “รับประกันคุณภาพคุ้มราคา”

Prins VSI-3 DI ขั้นสุดของเทคโนโลยีติดตั้งแก๊ส เครื่องยนต์ไดเร็กอินเจ็คชั่น  

Prins Silverline อุปกรณแก๊สพรีเมี่ยม มาตรฐานสูง ราคาจับต้องได้

Prins Technomax เทคโนโลยีขั้นสูง อุปกรณ์แก๊สมาตรฐาน ราคาประหยัด

 

เสียงจริงจากลูกค้า เลือกติดแก๊สที่นี่เพราะอะไร?

Loading

รีวิวรถติดแก๊ส LPG มากที่สุดในประเทศ

หงษ์ทองออโต้แก๊ส จุดเปลี่ยนมาตรฐานวงการแก๊ส

ประสบการณ์ มากกว่า 15 ปี ลูกค้าไว้วางใจ มากกว่า 100,000 คัน  

รับประกันความพอใจ ยินดีคืนเงิน

สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากการติดแก๊ส LPG กับหงษ์ทองแก๊ส

  • ศูนย์บริการมาตรฐานเทียบเท่าศูนย์รถยนต์
  • มาตรฐานการติดตั้งระดับสูง ด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ
  • บริการหลังการขาย (After Service) แบบมืออาชีพ มั่นใจในบริการของเราได้
  • คำนึงถึงปลอดภัยสูงสุด เราเลือกใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบแล้ว มีคุณภาพและปลอดภัย
  • ค่าบริการที่คุ้มค่า มาตรฐานบริการ ลดค่าเชื้อเพลิง (สามารถนำเงินส่วนต่างที่เหลือ ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้มากขึ้น)

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

ติดต่อหงษ์ทองแก๊ส

บทความที่เกี่ยวข้อง :

 

 

 

Loading



Loading