รางหัวฉีด Keihin K9 – รีวิว จุดเด่น อุปกรณ์แก๊ส
รางหัวฉีด Keihin K9 ได้รับการยอมรับว่าเป็นหัวฉีดที่มีคุณภาพสูงที่สุดและมีชื่อเสียงมานาน ซึ่งผลิตโดยบริษัท Keihin ผู้ผลิตหัวฉีดน้ำมันให้กับค่ายรถยนต์ Honda โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการจ่ายเชื้อเพลิงที่เป็นเส้นตรง (Linear) ใช้กลยุทธ์แบบ Peak & Hold เช่นเดียวกับหัวฉีดน้ำมัน คำนวณการจ่ายเป็นกรัมต่อวินาที ทำให้มีความละเอียดแม่นยำสูง สามารถจ่ายแก๊สแรงดันสูงเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง +/- ไม่เกิน 2% ดังนั้น มั่นใจได้เรื่องของคุณภาพและความเสถียร อัตราการจ่ายเชื้อเพลิงเร็วแม่นยำ อายุการใช้งานนานถึง 300 ล้านไซเคิล (Circle) หรือประมาณ 240,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ ด้วยคุณสมบัติในการจ่ายเชื้อเพลิงที่รวดเร็วและแม่นยำ ไม่เพียงช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ยังช่วยให้ประหยัดขึ้นด้วย เพราะการเปิด-ปิดที่แม่นยำ เหมาะสมพอดีกับความต้องการของเครื่องยนต์
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
ฟังก์ชัน : รางหัวฉีด Keihin K9
- จ่ายไอแก๊สไปยังท่อร่วมไอดี
- ระยะยก/การเปิด-ปิดลูกสูบหัวฉีด แม่นยำ รวดเร็ว
- ปิดการจ่ายแก๊สเมื่อไม่ได้ใช้งาน
สเปค/คุณสมบัติเฉพาะ : รางหัวฉีด Keihin K9
- ผลิตและพัฒนาโดยบริษัท Keihin Japan
- “ช่วงการไหล” เป็นเส้นตรง แม่นยำสูง
- การไหลเชิงเส้น สตาร์ทที่ 1.25 msec.
- ความแม่นยำ +/- 2% จากหัวฉีดน้ำมัน
- มีหัวฉีด 7 ขนาด คือ 32cc, 42cc, 52cc, 63cc, 73cc และ 82cc
- รองรับกำลังเครื่องยนต์ 9-50 kW ต่อสูบ
- อายุการใช้งาน >290 ล้านไซเคิล หรือ 240,000 km
- ค่าความต้านทานต่ำเพียง 1.25Ω
รางหัวฉีด Keihin K9 มีฟังก์ชันการใช้งานเทียบเท่าหัวฉีดน้ำมัน ด้วยกลยุทธ์การฉีดจ่ายแก๊ส LPG ในระหว่างรอบ 4 จังหวะที่จะถูกปรับเปลี่ยนตามการควบคุมช่วงเวลาการฉีดของหัวฉีดแต่ละหัว ดังนั้น ระยะยกเปิด-ปิดของแต่ละหัวฉีดจะแตกต่างกัน ตั้งแต่รอบเดินเบาจนถึงโหลดเต็ม (full load) และปริมาณแก๊สที่ฉีดเข้าไป
ทั้งนี้ เนื่องจากหัวฉีดแก๊สต้องทำงานกับการอัตราการไหลที่สูงมากกว่าหัวฉีดน้ำมัน ดังนั้น จึงต้องใช้ลูกสูบหัวฉีดที่ใหญ่กว่าและเพิ่มระยะยกสูงขึ้น และเพื่อรับประกันการเปิด-ปิดที่รวดเร็ว กำลังของหัวฉีดจึงต้องสูงมาก ประกอบกับคอยด์ขดลวดมีความต้านทานต่ำ (1.25Ω) ทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กแรงสูงอย่างรวดเร็วและลดลงทันทีที่หัวฉีดเปิดถึงจุดสูงสุด เพื่อป้องกันไม่ให้หัวฉีดร้อนเกินไป ซึ่งกลยุทธ์นี้เรียกว่า ‘peak and hold’
นอกจากนั้น ในระบบ VSI-3.0 DI การทำงานของหัวฉีดแก๊สจะถูกควบคุมด้วยสายกราวน์ โดยในช่วงระหว่าง peak mode กราวด์จะเปิด และถูกสลับในระหว่าง hold mode (PWM ถูกควบคุม) จากภาพแสดงให้เห็นว่าสัญญาณ PWM ถูกควบคุมโดย power supply
สำหรับหัวฉีดน้ำมันจะถูกปิดการทำงานโดย AFC ในระหว่างเป็นโหมด LPG และหัวฉีดแก๊สจะทำงานแทน ซึ่ง AFC-3.0 DI จะอ่านค่ากลยุทธ์การควบคุมของหัวฉีดน้ำมัน และคำนวณระยะยกและจังหวะในการฉีดจ่ายของหัวฉีดแก๊ส เป็นไปได้ว่าหัวฉีดแก๊สจะสตาร์ทเร็วกว่าหัวฉีดน้ำมัน และในขณะที่หัวฉีดน้ำมันถูกปิดการทำงาน (end TI petrol) กล่อง AFC จะคำนวณและจับจังหวะการทำงานของหัวฉีดแก๊สเช่นกัน ซึ่งการคำนวณดังกล่าวขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ต่างกัน อาทิ :
- อัตราการไหลที่ต่างกันของหัวฉีดแต่ละขนาด
- พฤติกรรม/จังหวะการเปิด-ปิดของหัวฉีด
- ความเร็วรอบเครื่องยนต์ (engine speed)
- โหลดของเครื่องยนต์ (engine load)
- ค่าความร้อนที่ต่างกัน
- แรงดันในระบบแก๊ส
- อุณหภูมิแก๊สในระบบแก๊ส
- อุณหภูมิของหม้อต้ม
- แรงดันกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่ (battery voltage)
- และอื่น ๆ
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
บทความที่เกี่ยวข้อง :